Skip links

การค้าที่ทำเป็นประจำคำนวนซะกาตอย่างไร ?

การค้าที่ทำเป็นประจำคำนวนซะกาตอย่างไร ?

การค้าที่ทำเป็นประจำ หมายถึง ซื้อขายอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นมืออาชีพหรือเป็นรายได้ประจำ ก็ให้กำหนดวันนับต้นปีและปลายปี เช่น เริ่มนับทุกวันที่ 1 เราะมะฎอน เมื่อครบ 1 ปีให้คำนวณต้นทุนของสินค้าที่ซื้อขาย (ไม่คิดต้นทุนอุปกรณ์เครื่องมือเช่น มูลค่าอาคาร โต๊ะ ฯลฯ) รวมถึงกำไรที่ได้มาจากการค้าตลอด 1 ปี และออกซะกาต 2.5% จากต้นทุนและกำไรของสินค้าที่ขายได้แล้ว ส่วนสินค้าคงคลังมีทั้งทัศนะที่ให้คิดมูลค่าจากต้นทุนที่ซื้อและทัศนะที่ให้คิดจากราคาปัจจุบันหากขายได้ (ถ้าเป็นสินค้าตกรุ่น ราคาปัจจุบันก็มักจะต่ำกว่าต้นทุน ส่วนสินค้าที่ไม่ตกลงรุ่นราคาปัจจุบันก็มักจะสูงกว่าต้นทุน)

ตัวอย่าง

เปิดร้านขายมือถือต้นทุน 1 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าทำร้านและอุปกรณ์สำนักงาน 1 แสนบาท ซื้อมือถือเข้าคลังสินค้า 8 แสนบาท เหลือเงินทุนหมุนเวียน 1 แสนบาท ระหว่างปีก็มีการซื้อสินค้าเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ จากต้นทุนเดิมและกำไรที่ได้มา เมื่อครบรอบปีบัญชีก็ให้ดูว่า เหลือทรัพย์สินสภาพคล่องเท่าไร เช่น เหลือเงินสดหลักหักค่าใช้จ่ายเท่าไร เหลือสินค้าในคลังคิดเป็นมูลค่าเท่าไร เช่น เหลือเงินสด 1 แสน และมือถือในคลังมูลค่ารวม 1.2 ล้านบาท ก็ให้คิดซะกาต 2.5% จากยอด 1.3 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่าวิธีนี้ต้องทำบัญชีอย่างละเอียดซึ่งจะส่งผลดีกับธุรกิจทั้งด้านศาสนาและดุนยา เพราะบัญชีจะทำให้เราเห็นต้นทุนที่แท้จริง กำไรที่แท้จริง เห็นรูรั่วของกิจการว่าอยู่ตรงไหนและสามารถแก้ไขมันได้ ถึงเวลาก็ไม่ต้องปวดหัวกับเรื่องภาษี ขณะเดียวกันเมื่อครอบรอบปีก็จัดการซะกาตได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องใช้เพียงการคาดคะเนว่ายอดคงเป็นเท่านั้นเท่านี้เพราะมันอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ แต่บัญชีจะทำให้เราได้ตัวเลขที่แท้จริง

วัลลอฮุอะอฺลัม

สหกรณ์อิสลามอมานะฮฺ เพื่อชีวิตที่ใกล้ชิดหลักการ

Leave a comment