Skip links

การกลับตัวเรื่องดอกเบี้ยของตระกูลอัมร์ อิบนุ อุมัยร์

การกลับตัวเรื่องดอกเบี้ยของตระกูลอัมร์ อิบนุ อุมัยร์

ซัยด์ อิบนุ อัสลัม รายงานว่า ในสมัยญาฮิลียะฮ์ตระกูลของอัมร์ อิบนุ อุมัยร์ ซึ่งอยู่ที่ตำบลษะกีฟ และตระกูลของอัลมุฆีเราะฮ์แห่งเผ่ามัคซูม มีดอกเบี้ยค้างคากันอยู่ แต่เมื่อทั้งสองเผ่ารับอิสลามแล้วชาวเผ่าษะกีฟก็ขอทวงดอกเบี้ยที่ยังค้างคาอยู่คืน แล้วพวกเขาก็ได้ปรึกษาหารือกัน ตระกูลอัลมุฆีเราะฮ์ก็กล่าวว่า เราจะไม่ให้ดอกเบี้ยแน่นอนเมื่อเราได้รับอิสลาม ดังนั้น อัตตาบ อิบนุ ยะซีด ข้าหลวงประจำเมืองมักกะฮ์ จึงได้เขียนสารไปหาท่านเราะสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างสองเผ่า จากนั้นอายะฮ์ที่ว่า 

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّـهَ وَذَرُوا مَا بَقِيَ مِنَ الرِّبَا إِن كُنتُم مُّؤْمِنِينَ ﴿٢٧٨﴾ فَإِن لَّمْ تَفْعَلُوا فَأْذَنُوا بِحَرْبٍ مِّنَ اللَّـهِ وَرَسُولِهِ ۖ وَإِن تُبْتُمْ فَلَكُمْ رُءُوسُ أَمْوَالِكُمْ لَا تَظْلِمُونَ وَلَا تُظْلَمُونَ ﴿٢٧٩﴾

ความว่า “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย พึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงงดดอกเบี้ยที่เหลืออยู่เสีย หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา และถ้าหากพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตามนั้น ก็พึงรับรู้ไว้ด้วยซึ่งสงครามจากอัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวแล้ว สำหรับพวกเจ้าก็คือต้นทุนแห่งทรัพย์ของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าจะได้ไม่อธรรมและไม่ถูกอธรรม” (อัลบะเกาเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 278-279) 

แล้วท่านเราะสูลก็ส่งสารกลับไปยังอัตตาบ อิบนุ ยะซีด เมื่อทั้งสองเผ่ารู้ถึงการประทานคำสั่งเรื่องดอกเบี้ยแล้ว พวกเขาก็กล่าวกันว่า “เราขอกลับตัวกลับใจสู่อัลลอฮ์ ส่วนดอกเบี้ยที่ยังค้างอยู่ เราของดมันและยกเลิกทั้งหมด” (บันทึกโดยอิบนุอบีหาติม 3/1140, 1141)

เป็นที่รู้กันดีว่าเรื่องเงินไม่เข้าใครออกใคร ยิ่งอาหรับในยุคก่อนอิสลามนั้นดอกเบี้ยถือเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้ของนายทุนปล่อยกู้ และเงินที่ยังค้างคาเหล่านี้ก็อาจนำไปสู่ปัญหาระหว่างเผ่าได้ ทว่าเมื่อได้รู้ถึงบทบัญญัติใหม่ทางศาสนาซึ่งถูกประทานลงมาเนื่องจากเรื่องของพวกเขา พวกเขาก็ตอบรับมันในทันที โดยไม่มีใครรู้สึกว่าตัวเองเสียเปรียบ ไม่มีใครรู้สึกแพ้และไม่มีใครรู้สึกชนะ เพราะทุกคนล้วนแสวงหาเพียงความพอพระทัยของอัลลอฮ์แต่เท่านั้น

สหกรณ์อิสลามอมานะฮฺ เพื่อชีวิตที่ใกล้ชิดหลักการ

การกลับตัวเรื่องดอกเบี้ยของตระกูลอัมร์ อิบนุ อุมัยร์

ซัยด์ อิบนุ อัสลัม รายงานว่า ในสมัยญาฮิลียะฮ์ตระกูลของอัมร์ อิบนุ อุมัยร์ ซึ่งอยู่ที่ตำบลษะกีฟ และตระกูลของอัลมุฆีเราะฮ์แห่งเผ่ามัคซูม มีดอกเบี้ยค้างคากันอยู่ แต่เมื่อทั้งสองเผ่ารับอิสลามแล้วชาวเผ่าษะกีฟก็ขอทวงดอกเบี้ยที่ยังค้างคาอยู่คืน แล้วพวกเขาก็ได้ปรึกษาหารือกัน ตระกูลอัลมุฆีเราะฮ์ก็กล่าวว่า เราจะไม่ให้ดอกเบี้ยแน่นอนเมื่อเราได้รับอิสลาม ดังนั้น อัตตาบ อิบนุ ยะซีด ข้าหลวงประจำเมืองมักกะฮ์ จึงได้เขียนสารไปหาท่านเราะสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างสองเผ่า จากนั้นอายะฮ์ที่ว่า 

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّـهَ وَذَرُوا مَا بَقِيَ مِنَ الرِّبَا إِن كُنتُم مُّؤْمِنِينَ ﴿٢٧٨﴾ فَإِن لَّمْ تَفْعَلُوا فَأْذَنُوا بِحَرْبٍ مِّنَ اللَّـهِ وَرَسُولِهِ ۖ وَإِن تُبْتُمْ فَلَكُمْ رُءُوسُ أَمْوَالِكُمْ لَا تَظْلِمُونَ وَلَا تُظْلَمُونَ ﴿٢٧٩﴾

ความว่า “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย พึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงงดดอกเบี้ยที่เหลืออยู่เสีย หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา และถ้าหากพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตามนั้น ก็พึงรับรู้ไว้ด้วยซึ่งสงครามจากอัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวแล้ว สำหรับพวกเจ้าก็คือต้นทุนแห่งทรัพย์ของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าจะได้ไม่อธรรมและไม่ถูกอธรรม” (อัลบะเกาเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 278-279) 

แล้วท่านเราะสูลก็ส่งสารกลับไปยังอัตตาบ อิบนุ ยะซีด เมื่อทั้งสองเผ่ารู้ถึงการประทานคำสั่งเรื่องดอกเบี้ยแล้ว พวกเขาก็กล่าวกันว่า “เราขอกลับตัวกลับใจสู่อัลลอฮ์ ส่วนดอกเบี้ยที่ยังค้างอยู่ เราของดมันและยกเลิกทั้งหมด” (บันทึกโดยอิบนุอบีหาติม 3/1140, 1141)

เป็นที่รู้กันดีว่าเรื่องเงินไม่เข้าใครออกใคร ยิ่งอาหรับในยุคก่อนอิสลามนั้นดอกเบี้ยถือเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้ของนายทุนปล่อยกู้ และเงินที่ยังค้างคาเหล่านี้ก็อาจนำไปสู่ปัญหาระหว่างเผ่าได้ ทว่าเมื่อได้รู้ถึงบทบัญญัติใหม่ทางศาสนาซึ่งถูกประทานลงมาเนื่องจากเรื่องของพวกเขา พวกเขาก็ตอบรับมันในทันที โดยไม่มีใครรู้สึกว่าตัวเองเสียเปรียบ ไม่มีใครรู้สึกแพ้และไม่มีใครรู้สึกชนะ เพราะทุกคนล้วนแสวงหาเพียงความพอพระทัยของอัลลอฮ์แต่เท่านั้น

สหกรณ์อิสลามอมานะฮฺ เพื่อชีวิตที่ใกล้ชิดหลักการ

Leave a comment