Skip links

“หาได้เท่าไหร่ ไม่สำคัญเท่าเหลือไหร่” หลักสำคัญที่ใช้ได้ทั้งกับเงินทองและผลบุญ

“หาได้เท่าไหร่ ไม่สำคัญเท่าเหลือไหร่”

วันนี้เราจะลองมาใคร่ครวญประโยคข้างต้น

ผ่านตัวอย่างของอะห์มัดและมะห์มูดกันครับ 

อะห์มัด หาเงินได้เดือนละ 50,000 บาท 

แต่ใช้จนหมดไม่มีเหลือ

มะห์มูด หาเงินได้เดือนละ 15,000 บาท 

แต่เหลือออมเดือนละ 5,000 บาท

หากทั้ง 2 คนเกษียณจากการทำงานเมื่อผ่านไป 20 ปี 

อะห์มัดจะหาเงินได้ทั้งหมด 12,000,000 บาท 

และใช้จนหมดเกลี้ยง เหลือเงินเก็บ 0 บาท

ส่วนมะห์มูดจะหาะเงินได้ 3,600,000 บาท 

แต่ใช้ไปเพียง 2,400,000 บาท 

เหลือเงินเก็บ 1,200,000 บาท

สมมุติว่าหลังเกษียณทั้งสองคนไม่มีรายได้จากช่องทางอื่นอีกแล้ว 

อะห์มัดที่เคยมือเติบมีกำลังซื้อมากกว่ามะห์มูดหลายเท่ามา 20 ปี 

แต่ตอนนี้กลับไม่มีเงินใช้สักแดงเดียว 

เขาจะใช้ชีวิตอย่างไร ?

ส่วนมะห์มูดที่มีกำลังซื้อน้อยกว่ามาตลอดเพราะแบ่งส่วนหนึ่งไว้ออม 

ณ ตอนนี้เขาจะเหลือเงินใช้อีก 1.2 ล้านบาท 

ถ้าตามสถิติรายจ่ายเดือนละ 10,000 บาท 

เขาจะใช้ได้อีก 120 เดือนหรือ 10 ปี !

นี่แหละครับตำราทางการเงินจำนวนไม่น้อยจึงเน้นย้ำว่า 

“หาได้เท่าไหร่ไม่สำคัญเท่าเหลือเท่าไหร่” 

เพราะมันจะกลายเป็นเสบียงในอนาคตของเราครับ

เรื่องผลบุญก็เช่นเดียวกันครับ… 

ทำไว้ได้เท่าไหร่ ไม่สำคัญว่าเหลือเท่าไหร่

เพราะในวันแห่งการตัดสิน

หากเรามีคดีความกับคนอื่น 

ได้ละเมิดสิทธิทางร่างกาย จิตใจ 

ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของเขาเอาไว้

วันนั้นเราต้องจ่ายด้วยผลบุญของเราครับ 

ซึ่งเราไม่รู้เลยว่าเราจะมีผลบุญไปเท่าไหร่

และรายจ่ายผลบุญของเราในวันนั้น

จะมากล้นจนทำให้เราล้มละลายหรือไม่

ขออัลลอฮ์ให้เรารักษาทรัพย์สินและผลบุญของเราได้อย่างดีและรอดพ้นจากการสิ้นเนื้อประดาตัวทั้งในโลกนี้และโลกหน้าด้วยเถิด อามีน

Leave a comment