Skip links

มุฎอรอบะฮฺ vs มุชารอกะฮฺ

มุฎอรอบะฮฺ vs มุชารอกะฮฺ

เราได้อธิบายโดยสังเขปไปแล้วถึงธุรกรรมทั้งสองแบบตามหลักชะรีอะฮฺว่าเป็นเช่นไร วันนี้จะลองมาเปรียบเทียบข้อแตกต่างให้อีกทีครับ

มุฎอรอบะฮมุชารอกะฮ
การลงทุน (ลงเงิน)ลงทุนฝ่ายเดียวลงทุนทุกฝ่าย 
การลงแรง (ลงมือทำงาน)ลงแรงฝ่ายเดียว (ฝ่ายที่ไม่ได้ลงทุน)ลงแรงทุกฝ่ายก็ได้ หรือฝ่ายเดียวก็ได้
การว่าจ้างผู้ลงแรงว่าจ้างผู้อื่นได้ผู้ลงทุนและ/หรือผู้ลงแรงว่าจ้างผู้อื่นได้
สิทธิ์ในการบริหารจัดการผู้ลงแรงมีสิทธิ์ฝ่ายเดียวทุกฝ่ายมีสิทธิ์
การรับค่าจ้าง (ของฝ่ายที่ลงแรง)ไม่มีสิทธิ์รับค่าจ้างมีสิทธิ์รับค่าจ้าง
เมื่อผลประกอบการมีกำไรทุกฝ่ายแบ่งกำไรกันตามสัดส่วนที่ตกลงไว้ทุกฝ่ายแบ่งกำไรกันตามสัดส่วนที่ลงทุนไว้
เมื่อผลประกอบการขาดทุนฝ่ายลงทุนขาดทุนเงินแต่เพียงฝ่ายเดียว ส่วนฝ่ายลงแรงขาดทุนแรงทุกฝ่ายขาดทุนร่วมกันตามสัดส่วนที่ลงทุนไว้

สิ่งที่เราต้องเน้นย้ำเลยก็คือ สัญญาต้องชัดเจนตั้งแต่แรก และทุกฝ่ายที่ร่วมลงทุนต้องเข้าใจตรงกันตั้งแต่แรกด้วยนะครับว่าเรากำลังทำธุรกรรมแบบใดอยู่กันแน่ 

ที่สำคัญอย่าลืมว่า “การลงทุนมีทั้งโอกาสได้กำไรและโอกาสขาดทุนเสมอ” ถ้าลงทุนแล้วขาดทุนเราจะไปคาดคั้นเอาเงินทุนคืนแบบเต็มร้อยจากผู้ลงแรงอันนี้ก็ไม่ถูกต้องครับ เว้นแต่ตรวจสอบแล้วยืนยันได้ว่าเขาบริหารหรือลงแรงแบบเจตนาฉ้อโกง อันนี้ก็ว่ากันอีกเรื่องครับ

ส่วนการลงทุนที่รับประกันกำไรหรือผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้เปอร์เซ็นต์ก็จะกลายเป็นดอกเบี้ย ซ้ำร้ายกว่านั้นอาจกำลังเดินเข้ากับดักแชร์ลูกโซ่โดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้ครับ

สหกรณ์อิสลามอมานะฮฺ เพื่อชีวิตที่ใกล้ชิดหลักการ

Leave a comment